วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เตือน!!! พบช่องโหว่ร้ายแรงใน Acrobat


อะโดบี้ (Adobe) ได้ประกาศเตือนผุู้ใช้ว่า พบช่องโหว่ร้ายแรงในซอฟต์แวร์ Adobe Reader และ Acrobat 9.1.3 (โปรแกรมอ่านไฟล์เอกสาร .PDF) ที่ทำงานบนระบบปฎิบัติการ Windows, Mac OS X และ Unix โดยตามรายงานยังแจ้งอีกด้วยว่า ผู้ไม่หวังดีได้ใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตีระบบของผู้ใช้แล้วทางบริษัทเปิดเผยว่า จะแก้ปัญหาช่องโหว่ที่พบในซอฟต์แวร์ทั้งสองเป็นการด่วน โดยจะออกชุดอัพเดตรการทำงานของะบบรักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ในวันอังคารที่ 13 ตุลาคมนี้ ซึ่งจากรายงานข่าวยังระบุอีกว่า ขณะนี้ผู้ไม่หวังดีได้ใช้ช่องโหว่ในการโจมตีระบบแล้ว โดยเป้าหมายเฉพาะกลุ่มผู้ใช้ Reader และ Acrobat 9.1.3 บน Windows สำหรับอัพเดตที่จะออกมาจะเป็นแพตช์ชุดที่สองของระบบรักษาความปลอดภัยทั้งโปรแกรม Reader และ Acrobat ที่ออกภายในไตรมาสนี้
การโจมตีของมัลแวร์จะอยู่ในรูปแบบของโทรจันชื่อว่า Troj_Pidief.Uo โดยมันจะแพร่ผ่านทางไฟล์ PDF ที่ไปพร้อมกับเอเจนของ JavaScript ชื่อ Js_Agent.Dt เพื่อทำการติดตั้งแบ็คดอร์ Bkdr_Protux.Bd ซึ่งจะทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมันเข้าไปได้อย่างสมบูรณ์
ในขณะที่ช่องโหว่ล่าสุดที่พบไม่ได้ขึ้นอยู่กับ JavaScript แต่ทางอะโดบี้ยังคงแนะนำว่า ผู้ใช้สามารถลดความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีได้ด้วยการยกเลิก (disable) ฟังก์ชัน JavaScript จนกว่าแพตช์จะออกมา นอกจากนี้ทางอะโดบี้ยังแนะนำให้ผู้ใช้อัพเดตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอด้วย สำหรับผู้ใช้ Adobe Reader และ Acrobat 9.1.3 ที่เปิดการทำงานของ DEP บน Windows Vista จะได้รับการป้องกันจากการโจมตีด้วยช่องโหว่ดังกล่าว ทางอะโดบี้ได้ประสานงานกับบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ระบบรักษาความปลอดภัย และแอนตี้ไวรัสต่างๆ เพื่อที่จะชี้ปัญหาของช่องโหว่ที่พบ เพื่อให้ช่วยออกอัพเดตป้องกันผู้ใช้ด้วยอีกทางหนึ่ง ผู้ใช้สามารถติดตามข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับช่องโหว่ที่พบใน Reader และ Acrobat ได้ที่
Adobe Product Security Incident Response Team blog

Windows 7 เร็วกว่า Vista แม้ตอนบู๊ต




Windows 7 เร็วกว่า Vista แม้ตอนบู๊ต
รายงานข่าวที่ทำให้หลายคนประหลาดใจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานั่นก็คือ การที่ Iolo Technologies บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ทูลส์ปรับแต่งการทำงานของพีซีออกมาเปิดเผยว่า Windows 7 ใช้เวลาในการบู๊ตเครื่องนานกว่า Windows Vista โดยใช้หลักเกณฑ์ในการวัดว่า สิ้นสุดการบู๊ตเมื่อซีพียูเข้าสู่ Idle state หรือสภาวะ"ว่าง"จากการทำงาน (ไม่มีการเรียกให้ประมวลผลใดๆ อีก)

ผู้ใช้วินโดวส์ทีมีประสบการณ์ส่วนใหญ่จะทราบดีว่า การสิ้นสุดการบู๊ตของระบบปฏิบัติการไมได้จบที่ "Idle state" เพราะมันไม่ใช่ DOS (Disk Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ทำทีละงาน (single task) ซึ่ง Iolo ใช้วิธีจับเวลาเมื่อซีพียูพร้อมทำงานเต็มที่ หรือ"ว่าง"โดยสมบูรณ์ ซึ่งการวัดด้วยวิธีนี้สำหรับระบบปฏิบัติการที่ทำหลายงานพรอ้มกัน (multi-tasking) มันดูจะเป็นวิธีที่คลุมเครือ

ประเด็นของการบู๊ต เร็วมี่ความหมายต่อผู้ใช้พีซีตรงที่มันสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้ว่า พีซีของพวกเขาเร็วขึ้น (แค่ตอนบู๊ต?) และนั่นน่าจะหมายถึง มันดีขึ้นด้วย จนผู้ใช้หลายคนลืมเรื่องที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นก็คือ "ความปลอดภัย" ของระบบ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาตลอดเวลาว่า ผลการทดสอบ Windows Vista มีความปลอดภัยมากกว่า Windows XP แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่กลับรู้สึกว่า มันไม่ปลอดภัย แถมยังช้า และเสถียรน้อยกว่า Windows XP อีกด้วย...ว่าเข้าไปนั่น :p

หลังจากที่ มีข่าวดังกล่าวออกมา เว็บไซต์อย่าง Betanews ได้ทำการทดลองวัดความเร็วเฉลี่ยที่ได้จากการบู๊ตคนละ 5 ครั้งบนพีซีที่รัน Windows 7 และ Vista โดยสเป็กเครื่องที่ใช้เป็น Intel Core 2 Quad Q6600 เมนบอร์ด Gigabyte GA-965P-DS3 การ์ดกราฟิก Nvidia 8600 GTS หน่วยความจำ DDR2 3GB ฮาร์ดดิสก์ Seagate Barracuda 7200.11 ความจุ 650GB การวัดเริ่มต้นที่การกดปุ่ม Enter เลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการจะบู๊ตตรงหน้าจอ multi-boot จนถึงหน้าจอ Login จะปรากฎ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เวลาเฉลี่ยของการบู๊ต Windows 7 อยู่ที่ 24.214 วินาที ส่วน Vista อยู่ที่ 36.262 วินาที ซึ่งกลายเป็นว่า Vista บู๊ตช้ากว่าอย่างเห็นได้ชัด ประเด็นการวัดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องของ Idle State ของซีพียู มันยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้การบู๊ตเร็ว หรือช้าด้วย อย่างเช่น ไดรเว่อร์ที่ใช้ ตลอดจนแอพพลิเคชันที่ต้องถูกเรียกทำงานตอนเริ่มต้น

นอกจากผลการทดสอบ ข้างต้นแล้ว เว็บไซต์อย่าง ChannelWeb ก็ได้ลองพิสูจน์บางอย่าง นั่นก็คือ ติดตั้งซอฟต์แวร์ System Mechanic (ของ Iolo Technologies) บน Windows 7 แล้วลองบู๊ตเครื่องให้ทำงาน ปรากฎว่า มันช้ากว่าเครื่่องที่ไม่ได้ติดตั้งอย่างชัดเจน ผลลัพธ์ที่ได้นี้ มันจึงดูเหมือนว่า Iolo มีใจเอนเอียงไปทาง Vista มากกว่า หรือเปล่า? การวัดจึงต้องใช้วิธีดังกล่าว เพื่อให้ได้ผลตามที่ต้องการ ซึ่งก็เป็นประเด็นที่หลายฝ่ายสงสัยอยู่เหมือนกัน แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ คิดอย่างไรกับเรื่องนี้?

"เน็ตบุ๊ก 2 จอ" ไม่ใช่แค่ของโชว์!!!


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] คุณผู้อ่านยังจำเน็ตบุ๊ก 2 จอ (dual-screen netbook) จากบริษัท Kojinsha ที่นำเสนอในงาน CEATEC ได้ไหมครับ? ซึ่งผมเชื่อว่า หลายท่านคงจะประทับใจ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจไม่แน่ใจว่า มันจะเป็นแค่ต้นแบบที่ทำมาโชว์ในงาน หรือเปล่า? เนื่องจากสังเกตดูในคลิปแล้ว มันไม่ค่อยจะแข็งแรงสักเท่าไร?

ล่าสุดมีการนำเสนอเน็ตบุ๊กสองจอนี้อีกครั้ง โดยแต่ละหน้าจอของมันมีขนาด 10.1 นิ้ว โดยกลไกของตัวเลื่อนจะทำให้หน้าจอทั้งสองวางต่อกันพอดี ดูแล้วคอนเซปต์น่าจะเหมือนกับ Spacebook ของ GSCreen อย่างไรก็ตาม สองจอที่ซ้อนกันอยู่จะทำให้เน็ตบุ๊กรุ่นนี้มีความหนากว่าปกติเล็กน้อย แต่สเป็กอื่นๆ ของเครื่องน่าสนใจไม่แพ้ใครเลยเหมือนกัน

สำหรับเน็ตบุ๊ก 2 จอจาก Kojinsha รุ่นนี้จะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 7 ภายในใช้ซีพียู AMD Athlon Neo MV-40 ความเร็ว 1.6GHz หน่วยความจำสูงสุด 4GB และฮาร์ดดิสก์ 160GB ประเด็นที่ยังคงต้องรอการเปิดเผยออกมาก็คือ แบตเตอรี่ต่อการชาร์จจนเต็มจะใช้งานได้นานแค่ไหน ใครสนใจก็เตรียมหยอดกระปุกรอก็แล้วกันนะครับ

แนะนำ"แอนตี้ไวรัส"ฟรี สำหรับ Win7


[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] เชื่อว่า คงจะมีผู้ใช้หลายๆ ท่านที่ตั้งใจจะเลือก Windows 7 กับโน้ตบุ๊ก หรือคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ที่กำลังจะถอยในงาน COMMART COMTECH THAILAND 2009 อย่างแน่นอน ซึ่งรวมถึงผู้ที่ต้องการอัพเกรดไปใช้โอเอสตัวนี้กับคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่แล้วด้วย อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่อยากจะแนะนำคุณผู้อ่านทุกท่านก็คือ ท่านได้เตรียมพร้อมสำหรับความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ทีมากับโอเอสตัวใหม่แล้ว หรือยัง? โดยเฉพาะการติดตั้งซอฟต์"แอนตี้ไวรัส" ซึ่งคงจะดีเป็นอย่างยิ่ง หากมีของฟรี!!! ให้ลองใช้ในขณะที่ปกป้องภัยอันตรายบนเน็ตได้เป็นอย่างดี

สำหรับซอฟต์แวร์ แอนตี้ไวรัส (anti-virus) ที่เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 7 อีกทั้งยังมีความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ที่อยู่บนเน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องขอบอกว่า มีให้เลือกใช้อยู่หลายตัวเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้ จะขอแนะนำเฉพาะซอฟต์แอนตี้ไวรัสที่ได้รับการยอมรับในวงกว้าง ที่สำคัญ พวกมันสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งใช้งานได้ฟรีอย่างมั่นใจอีกด้วย ส่วนจะมีตัวไหนบ้างนั้น เราไปติดตามกันได้เลยครับ
Microsoft Security Essentials (MSE v1.0)
หากไม่แนะนำแอนตี้ไวรัสตัวนี้กับคุณผู้อ่านก็คงเป็นเรื่องแปลกเหมือนกัน เพราะมันเป็นของไมโครซอฟท์ (Microsoft) เอง ซึ่งล่าสุดได้ออกแอนตี้ไวรัสแจกฟรีให้กับผู้ใช้ พร้อมด้วยระบบการอัพเดตอัตโนมัติ เพื่อทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัยตลอดเวลา จุดเด่นของมันก็คือ โปรแกรมมีขนาดเล็ก เบา และสามารถป้องกันมัลแวร์ (ไวรัส สปายแวร์ต่างๆ) ที่จะบุกเข้ามาทำร้ายพีซีของคุณได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ มันยังทำงานอยู่ด้านหลัง (background process) อย่างเงียบๆ แต่มีประสิทธิภาพ โดยไม่มีการขัดจังหวะผู้ใช้ หรือต้องเข้าไปวุ่นวายอะไรกับมันมากมายเลย สำหรับเวอร์ชันล่าสุด ออกเมื่อเดือนกันยายน โดยคุณผู้อ่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลด Microsoft Security Essentials ได้ที่นี่





Avira AntiVir Personal (Free Version)
Avira AntiVir Personal แอนตี้ไวรัส "ร่มแดง" ที่หลายคนคุ้นเคย เป็นซอฟต์แวร์แจกฟรีอีกหนึ่งตัวที่ได้รับความชื่นชมจากผู้ใช้ และเว็บไซต์ต่างๆ ที่รีวิวถึงความสามารถของมัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเร็วในการสแกน และประสิทธิภาพในการจับไวรัส และสปายแวร์ โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรระบบ"น้อย"รวมถึงการปกป้องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี AntiVir Guard โดยระบบจะมีการอัพเดตฐานข้อมูลให้กับแอนตี้ไวรัสและแอนตี้สปายแวร์ระหว่างการติดตั้งด้วย ซึ่งทำให้ระบบมีความพร้อมต่อกรจากภัยคุกคามทันทีที่ติดตั้งเสร็จ สำหรับ Avira AntiVir Personal verison 9 นอกจากจะสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีแล้ว มันยังเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่อย่าง Windows 7 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจสามารถดาวน์โหลด Avira AntiVir Personal version 9 ได้ที่นี่



AVG Anti-Virus Free Edition 9.0
AVG Anti-Virus Free Edition เป็นซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสแจกฟรี!!! ที่ได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน โดยเวอร์ชันล่าสุด ไม่เพียงแต่จะทำงานกับ Windows 7 ได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับความสามารถในการป้องกันแอนตี้สปายแวร์อีกด้วย AVG ได้ชื่อว่าเป็นแอนตี้ไวรัสที่มีอินเตอร์เฟซการใช้งานที่ง่ายมาก ในขณะทีมีตัวเลือกสำหรับการป้องกันที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ มันยังมาพร้อมกับองค์ประกอบการทำงาน และออปชันต่างๆ ที่มักพบในซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสเวอร์ชันโปรเฟชชั่นนัล หรือเวอร์ชันจ่ายตังค์ตัวอื่นๆ อีกด้วย คุณผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด AVG Anti-Virus verision 9 ได้ที่นี่